วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2559

ปัจจัยแห่งความสําเร็จ AAR


  • มีศรัทธาในรูปแบบการทํางานเป็นทีม
  • บรรยากาศไม่เคร่งเครียด สบาย ๆ
  • มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน
  • คิดในเชิงสร้างสรรค์
  • เปิดใจ ไม่ยึดติด ยศ ตําแหน่ง อาวุโส ปริญญาที่จบมา
  • มีทักษะที่ดีในการพูด การฟัง การบันทึก


BAR สิ่งที่ควรทําก่อน AAR
  • BAR (Before Action Review) เป็นการซักซ้อมก่อนการปฏิบัติในอดีตคือการบรรยายสรุปให้ทุกคนปฏิบัติตามที่ผู้บรรยายกล่าว แต่ในยุคปัจจุบัน คือ การเชิญทีมงานเข้ามาร่วมซักซ้อมความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อันจะทําผลการปฏิบัติเป็นไปตามเป้าหมายร่วมที่ตั้งไว้ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการปรับแต่งแนวทางปฏิบัติจากที่เตรียมไว้ก็ได้
  • อาจเริ่มจากการบรรยายภาพรวมและการนําผลจาก AAR ในคร้ังที่ผ่านมาชี้แจง เพื่อให้การปฏิบัติในครั้งนี้ดีขึ้น ไม่ผิดซ้ำและป้องกันปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้น แล้วจบด้วยการเตรียมการที่จะทํา AAR

          ขั้นตอนการทํา BAR
  1. ชี้แจงเป้าหมายและแนวทางการปฏิบัติในภาพรวม
  2. ชี้แจงผลจากการทํา AAR ครั้งก่อน
  3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อกําหนดเป้าหมายและแนวทางที่ที่ดีที่สุดที่จะปฏิบัติในครั้งนี้
  4. ชี้แจงแนวทาง/ข้อคําถามที่ ทํา AAR เพื่อให้ทีมงานช่วยกันรวบรวมข้อมูลและข้อสังเกตระหว่างที่ปฏิบัติงาน อันจะทําให้การทํา AAR มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ขั้นตอนของ AAR



  1. วางแผนและแจ้งให้ทีมงานทราบว่าจะมีการทํา AAR ตั้งแต่ก่อนการทํางาน โดยระหว่างการทํางานนั้น เราต้องการให้ทีมงานเก็บข้อมูลหรือสังเกตจดจําเรื่องใด ขั้นตอนนี้หากสามารถทําเป็น BAR (Before Action Review) หรือ การซักซ้อมก่อนการปฏิบัติงาน ก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  2. เมื่อปฏิบัติงานเรียบร้อยแล้วให้จัดเตรียมสถานที่และนัดแนะเวลาที่จะมาทํา AAR
  3. หากเป็นการทํา AAR ครั้งแรก ให้สรรหาผู้ที่จะทําหน้าที่เป็นผู้อํานวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Facilitator) หรือฟา รวมทั้งอาจมีการจัดให้แนะนําตัว หรือทํากิจกรรมเพื่อส่งเสริมบรรยากาศที่ดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  4. ดําเนินการ AAR โดยให้ ฟาถามตามข้อคําถามที่ทีมงานต้องการ ซึ่งข้อคําถามนี้จะเปลี่ยนไปตามความต้องการและความจําเป็นของงานที่ปฏิบัติแต่จะมีความถามที่เป็นแกนในแนวกลาง ๆ 4 คําถาม คือ (1) เราคาดว่าผลที่เกิดขึ้นควรจะเป็นอย่างไร (2) แล้วผลที่เกิดขึ้นจริง ๆ คืออะไร (3) เพราะเหตุอะไรจึงเกิดเป็นเช่นนั้น และ (4) เราได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่เกิดขึ้น
     ในการทํา AAR ของกองเสมียนตรา ในพิธีประดับยศฯ ใช้คําถาม ดังนี้
  •  เป้าหมายของงานคืออะไร
  • ผลการปฏิบัติ/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง (โดยสรุป)
  • งาน/ขั้นตอนที่ทําได้ดี
  • งาน/ขั้นตอนที่ทําได้ไม่ดี
  • อุปสรรค/ข้อจํากัด/ข้อขัดข้อง ที่พบในระหว่างการปฏิบัติงาน
  • ประเด็นที่ได้เรียนรู้
  • ข้อปฏิบัติในการทํางานครั้งต่อไป

  1. ทีมงานร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวทางของข้อคําถามในข้อ 4 รวมทั้งประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ โดยสมาชิกทุกคนสามารถเปิดประเด็นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานตามหัวข้อ AAR ได้ในการกํากับดูแลของฟา โดยให้มีการคิดวิเคราะห์เพื่อให้ได้แนวทางในการปฏิบัติที่ดีที่สุด
  2. บันทึกความรู้/แนวทางการปฏิบัติที่ได้รวมทั้งข้อควรระวังในการปฏิบัติครั้งต่อไป ในรูปแบบที่สะดวกต่อการเข้าใจ และจัดเก็บให้สะดวกต่อการเข้าถึงเพื่อเรียนรู้และนํามาใช้ในการปฏิบัติครั้งต่อไป โดยอาจ
  3. จัดทําเป็นแบบฟอร์ม หรือบางแห่งเรียกแบบฟอร์มนี้ว่า SAR (Self Assessment Report) เสนอผู้บังคับบัญชาตามสายงานทราบ

เป้าหมายของ AAR

         



  • เป้าหมายหลัก ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง/พัฒนาการทํางาน ที่มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างกว้างขวางและไม่มีข้อจํากัดของบุคลากรที่ปฏิบัติงานร่วมกันในลักษณะทีมงาน โดยมุ่งเรียนรู้ให้ทันเวลา
  • เป้าหมายอื่นๆ ได้ความรู้เทคนิคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน ที่แต่ละคนในทีมงานได้พูดคุยแสดงความคิดเห็นกัน เป็นการแชร์ประสบการณ์ระหว่างบุคลากรในทีม ตลอดจนส่งเสริมลักษณะการทํางานเป็นทีม

ประโยชน์ของ AAR

  • ได้แนวทางในการปรับปรุง/พัฒนางาน นําไปสู่การทํางานที่ลดความยุ่งยาก เหนื่อยน้อยลงได้ผลดีขึ้น
  • ได้ฝึกทักษะในการพูด และการฟัง
  • เป็นพื้นฐานที่สําคัญของการเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของแนวปฏิบัติสู่การเป็นองค์การแห่งการเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์สู่การทํางานเป็นทีม
  • ทําให้การจัดการความรู้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
  • ทําให้ทราบถึงสิ่งที่เราปฏิบัติได้ดีอยู่แล้ว หรืออาจบังเอิญปฏิบัติได้ดีเพื่อบันทึกจดจํา และรักษาไว้/พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
  • ทําให้เราทราบข้อผิดพลาด และวิธีการป้องกันไม่ให้ผิดซ้ํา  ฝึกให้รู้จักคิดเป็นระบบ ไม่เน้นเฉพาะผลสําเร็จของงาน แต่จะต้องมองให้ครบทุกมิติซึ่งการคิด เป็นระบบเป็นแนวปฏิบัติที่ 5 (The Fifth Discipline) ซึ่งถือว่าเป็นจุดสุดยอดที่จะนําไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

การดําเนินการที่คล้าย ๆ หรือเป็นพื้นฐานของ AAR

           


            การวิจารณ์ (Critique) เป็นการสื่อสารทางเดียวเป็นส่วนใหญ่ เพื่อแจ้งการประเมินผลการปฏิบัติของทีมหรือบุคคล โดยจะให้โอกาสผู้เข้าร่วมฟังในการบ่งบอกจุดแข็งหรือจุดที่ควรปรับปรุงของตนเอง ผู้ที่อาวุโสในที่ประชุมจะเป็นผู้เติมเต็มในจุดที่ต้องการคําตอบ
          ประโยชน์ของการใช้ระบบวิจารณ์คือ ใช้เวลาน้อยและใช้ได้ดีในกรณีที่ขีดความสามารถของผู้เข้าร่วมฟังในการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติของตนเองมีน้อยเนื่องจากมีประสบการณ์น้อย
          การสนทนาซักถาม (Debrief) เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) จากกําลังพลที่เราส่งไปฝึกหรือปฏิบัติการมา เป็นการสื่อสารที่เป็นสองทางมากขึ้น กําลังพลที่ไปฝึก/ปฏิบัติการมาจะมีโอกาสได้รับข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติของพวกเขา อย่างไรก็ดีการวิจารณ์ (Critique) และการสนทนาซักถาม (Debrief)เป็นคําที่สามารถใช้ทดแทนกันได้การเรียนรู้จากสถานการณ์แบบเร่งด่วน (Hot Wash Up) เป็นการนํากรณีศึกษาจากการฝึกในสถานการณ์ต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเร่งด่วน เป็นการดําเนินการที่ไม่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรสนับสนุนมากนัก วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า เกิดอะไรขึ้น(ทั้งด้านดีและไม่ดี) ทําไมถึงเป็นเช่นนั้นและเราจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร


ความเป็นมาของ AAR



       AAR เป็นเครื่องมือที่เชื่อในแนวคิด ตีเหล็กที่กําลังร้อนโดยพัฒนามาจากการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในกองทัพสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) ในช่วงที่สหรัฐอเมริกาประสบความพ่ายแพ้ต่อสงครามเวียดนามซึ่งความภาคภูมิใจในตนเองของทหารอเมริกาเสื่อมถอยไปมาก แต่ด้วยกระบวนการ AAR ที่เข้มข้นจริงจังหลังจากนั้น ทําให้กองทัพสหรัฐอเมริกามีการเรียนรู้เป็นอย่างมากจนทําให้ความรู้สึกภาคภูมิใจในกองทัพได้หวนกลับมาอีกครั้ง และได้จัดให้ AAR มีสถานะเป็นระบบการเรียนรู้เชิงสถาบัน (Institutional Learning system) ที่สําคัญของทหารอเมริกันในช่วง 20 ปีเศษที่ผ่านมานี้
          กล่าวกันว่าในกระบวนการ AAR นั้น นายทหารที่มีอาวุโสน้อยสามารถตั้งคําถามเพื่อการเรียนรู้จากนายทหารที่มีอาวุโสสูงกว่า เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ระหว่างกันได้ แทนที่จะเพียงรับฟังคําสั่งเพียงอย่างเดียว อีกทั้งในกระบวนการฝึกร่วมคอบบร้าโกลด์ระหว่างทหารไทยกับสหรัฐอเมริกาก็มีการนําเครื่องมือ AAR มาใช้อยู่ด้วย
          ต่อมามีการนํา AAR มาใช้ในภาคพลเรือนตั้งแต่ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมของกองทัพกับพลเรือนน่าจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะ AAR ของทหารน่าจะมองเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่า ด้วยความจําเป็นที่ต้องคํานึงทางรอดในการปฏิบัติการทางทหาร ขณะที่พลเรือนที่ใช้ AAR เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในโครงการพัฒนานั้น ไม่มีมิติของความเป็นความตายทางกายภาพมาเกี่ยวข้อง AAR ในกลุ่มพลเรือนจึงต้องอาศัยฉันทะ ความใฝ่รู้ วัฒนธรรมการเรียนรู้ของกลุ่ม ตลอดจนต้องมีเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้สนับสนุนอย่างเหมาะสมด้วย
          AAR ที่นํามาประยุกต์ใช้ในโครงการพัฒนานั้นมีชื่อเรียกต่างๆกันเช่น Lesson Learned (กรณีศึกษา), Post-operation view (การสรุปหลังการปฏิบัติการ), Learning review (การทบทวนการเรียนรู้) และ Learning after the event (การเรียนรู้หลังกิดสถานการณ์) เป็นต้น แต่คําถามหลักๆ เพื่อการเรียนรู้ที่เรียกกันว่า Key Learning points (ประเด็นการเรียนรู้หลัก) จะไม่แตกต่างกันมากนัก ดังเช่นชุดคําถามต่อไปนี้
          - เราวางแผนกันไว้อย่างไร อะไรคือจุดหมายของการปฏิบัติการ
          - เมื่อเราดําเนินโครงการพัฒนาไประยะหนึ่งแล้ว สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งใดเป็นไปตามที่วางแผนไว้ /ทําไมเป็นเช่นนั้น
          - สิ่งใดไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ / ทําไมเป็นเช่นนั้น
          - เรามีปัญหาอะไรบ้าง
          - เราน่าจะสามารถทํา สิ่งใดให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้บ้าง
          - ในการดําเนินงานครั้งต่อไป สิ่งใดที่เราจะปฏิบัติแตกต่างไปจากครั้งที่ผ่านๆ มาบ้าง


ความหมายของ After Action Review หรือ AAR



มีผู้ให้ความหมายของ AAR ไว้หลายท่าน ดังนี้
          Major R. Kennedy, Canada Army กล่าวว่า การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน คือ การอภิปราย/ปรึกษาหารือ/แลกเปลี่ยนความเห็น/แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมืออาชีพ ภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกหรือการปฏิบัติการ ที่มุ่งเน้นให้ได้คําตอบที่ชัดเจนในประเด็นที่ว่า เกิดอะไรขึ้น(ผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร) ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วเราจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้โดยวิธีการใด (An After Action Review is a professional discussion of a training or operational event that focuses on identifying what happened, why it happened and ways to improve.)
          อุดม พัวสกุล (2552 หน้า 24) กล่าวว่า AAR คือ การเปิดใจและการเรียนรู้หลังการทํากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเสร็จสิ้นลง เพื่อถอดบทเรียนชื่นชมความสําเร็จและหาทางพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เป็นขั้นตอนหนึ่งในวงจรการทํางาน เป็นการทบทวนวิธีการทํางานทั้งด้านความสําเร็จ และปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อค้นหาคนที่ทําผิดพลาด ไม่ใช่การกล่าวโทษใครทั้งสิ้น แต่เป็นการทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทํางาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งวิธีการที่ดีอยู่แล้ว
          นิพัทธ์  กานตอัมพร กล่าวว่า AAR คือ การประชุมกลุ่มเพื่อทบทวนการปฏิบัติภารกิจที่ได้ทําไปแล้วว่ามีผลอย่างไร และมีอะไรที่เป็นความรู้ บทเรียน และสามารถนําไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติในครั้งต่อไป ทั้งของตนเองและบุคคลอื่น