AAR เป็นเครื่องมือที่เชื่อในแนวคิด
“ตีเหล็กที่กําลังร้อน” โดยพัฒนามาจากการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในกองทัพสหรัฐอเมริกา
โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) ในช่วงที่สหรัฐอเมริกาประสบความพ่ายแพ้ต่อสงครามเวียดนามซึ่งความภาคภูมิใจในตนเองของทหารอเมริกาเสื่อมถอยไปมาก
แต่ด้วยกระบวนการ AAR ที่เข้มข้นจริงจังหลังจากนั้น
ทําให้กองทัพสหรัฐอเมริกามีการเรียนรู้เป็นอย่างมากจนทําให้ความรู้สึกภาคภูมิใจในกองทัพได้หวนกลับมาอีกครั้ง
และได้จัดให้ AAR มีสถานะเป็นระบบการเรียนรู้เชิงสถาบัน (Institutional
Learning system) ที่สําคัญของทหารอเมริกันในช่วง 20 ปีเศษที่ผ่านมานี้
กล่าวกันว่าในกระบวนการ AAR นั้น
นายทหารที่มีอาวุโสน้อยสามารถตั้งคําถามเพื่อการเรียนรู้จากนายทหารที่มีอาวุโสสูงกว่า
เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ระหว่างกันได้
แทนที่จะเพียงรับฟังคําสั่งเพียงอย่างเดียว
อีกทั้งในกระบวนการฝึกร่วมคอบบร้าโกลด์ระหว่างทหารไทยกับสหรัฐอเมริกาก็มีการนําเครื่องมือ
AAR มาใช้อยู่ด้วย
ต่อมามีการนํา AAR มาใช้ในภาคพลเรือนตั้งแต่ค.ศ.1990 (พ.ศ.2533)
อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมของกองทัพกับพลเรือนน่าจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
โดยเฉพาะ AAR ของทหารน่าจะมองเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่า ด้วยความจําเป็นที่ต้องคํานึงทางรอดในการปฏิบัติการทางทหาร
ขณะที่พลเรือนที่ใช้ AAR เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในโครงการพัฒนานั้น
ไม่มีมิติของความเป็นความตายทางกายภาพมาเกี่ยวข้อง AAR ในกลุ่มพลเรือนจึงต้องอาศัยฉันทะ
ความใฝ่รู้ วัฒนธรรมการเรียนรู้ของกลุ่ม ตลอดจนต้องมีเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้สนับสนุนอย่างเหมาะสมด้วย
AAR ที่นํามาประยุกต์ใช้ในโครงการพัฒนานั้นมีชื่อเรียกต่างๆกันเช่น
Lesson Learned (กรณีศึกษา), Post-operation view (การสรุปหลังการปฏิบัติการ), Learning review (การทบทวนการเรียนรู้)
และ Learning after the event (การเรียนรู้หลังกิดสถานการณ์)
เป็นต้น แต่คําถามหลักๆ เพื่อการเรียนรู้ที่เรียกกันว่า Key Learning
points (ประเด็นการเรียนรู้หลัก) จะไม่แตกต่างกันมากนัก
ดังเช่นชุดคําถามต่อไปนี้
- เราวางแผนกันไว้อย่างไร
อะไรคือจุดหมายของการปฏิบัติการ
- เมื่อเราดําเนินโครงการพัฒนาไประยะหนึ่งแล้ว
สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งใดเป็นไปตามที่วางแผนไว้ /ทําไมเป็นเช่นนั้น
- สิ่งใดไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ / ทําไมเป็นเช่นนั้น
- เรามีปัญหาอะไรบ้าง
- เราน่าจะสามารถทํา
สิ่งใดให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้บ้าง
- ในการดําเนินงานครั้งต่อไป
สิ่งใดที่เราจะปฏิบัติแตกต่างไปจากครั้งที่ผ่านๆ มาบ้าง